การตั้งเวลา Time Zone ครั้งแรกที่ติดตั้ง Windows Server จะใช้ค่าเริ่มต้นที่ระบบกำหนดมาให้ เช่น (UTC-08:00) Pacific Time (US & Canada) เราสามารถจะเปลี่ยนเป็นเวลาของเมืองไทยได้
การตั้งเวลา สำหรับผู้ดูแลระบบที่ติดตั้ง Windows Server ในโหมด Server Core เราสามารถกำหนดค่าการทำงานให้กับเครื่องได้ผ่าน Command line
เปลี่ยนโหมดการทำงานของ Windows Server
ในส่วนที่ผ่านมาได้กล่าวเอาไว้ว่า เราสามารถเปลี่ยนสลับโหมดการทำงานไปมาระหว่าง Server Core, Server with a GUI, Minimal Server และ Desktop Experience ได้ โดยไม่ต้องฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ลงเครื่องใหม่ ซึ่งจะใช้วิธีการถอดและติดตั้ง Features ที่เป็น GUI ในแต่ละโหมดได้อย่างง่าย โดยใช้ Server Manager และ Windows PowerShell สามารถสรุปการกำหนด Features ต่างๆ
เปลี่ยนโหมดการทำงานด้วย Server Manager
Server Manager เป็นหน้าจอกราฟิกที่ช่วยในการจัดการเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลสถานะของระบบ ใช้กำหนดค่าและจัดการ Roles และแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ หน้าจอ Server Manager จะมีให้ใช้งานเฉพาะในโหมดกราฟิก คือ Server with a GUI และ Minimal Server ส่วน Server Core จะใช้ได้โดยการควบคุมจากระยะไกล
เปลี่ยนโหมดโดยถอด Features ใน Server Manager
การถอด Features ที่เป็น GUI จาก Server with a GUI ไปเป็น Minimal Server และ Server Core คือ
Server With a GUI เป็น Minimal Server : ให้ถอด Server Graphic Shell
Minimal Server เป็น Server Core : ให้ถอด Graphic Management Tools and Infrastructure
Server With a GUI เป็น Server Core : ให้ถอด Graphic Management Tools and Infrastructure, Server Graphic Shell
เปลี่ยนโหมดโดยเพิ่ม Features ใน Server Manager
เป็นการเพิ่ม Features ที่เป็น GUI เข้ามาใช้งาน เราสามารถเพิ่ม GUI ได้ดังนี้
Minimal Server เป็น Server With a GUI : เพิ่ม Server Graphic Shell
Server With a GUI เป็น Desktop Experience : เพิ่ม Desktop Experience
Minimal Server เป็น Desktop Experience : เพิ่ม Server Graphic Shell และ Desktop Experience
Server Core สามารถเพิ่ม Features ด้วย Server Manager ได้ โดยจะต้องควบคุมระยะไกล หรือผู้ดูแลที่เชี่ยวชาญสามารถเพิ่ม Features ได้โดยใช้ PowerShell
เปลี่ยนโหมดการทำงานด้วย Windows PowerShell
PowerShell เป็นแพลตฟอร์มการทำงานอัตโนมัติและการเขียนภาษาสคริปต์สำหรับจัดการระบบของ Windows และ Windows Server ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะแตกต่างจาก Shell ที่เขียนภาษาสคริปต์อื่นๆ เพราะ PowerShell ทำงานผ่าน .NET Framework ที่ประกอบด้วยชุดฟังก์ชันที่ช่วยในการควบคุมระบบ คำสั่งที่เราใช้งานใน PowerShell จะเรียกว่า cmdlet (Command let)